ป้อมมหากาฬคืออะไร และมีความเป็นมาอย่างไร

ป้อมมหากาฬ เป็นหนึ่งในบรรดาป้อมปราการที่สร้างขึ้นตามแนวกำแพงพระนครเลียบคลองคูเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๖ แต่เมื่อหมดยุคสมัยแห่งศึกสงคราม ความสำคัญของป้อมจึงลดลงเรื่อยๆ และถูกรื้อทิ้งไปเพื่อความสะดวกในการขยายตัวของเมืองใหญ่ ปัจจุบันมีเพียงชุมชนป้อมมหากาฬเป็นชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ และกำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาพร้อมกับการพัฒนาเมือง

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าที่นี่เป็นทั้งบ้านเกิดของลิเกทรงเครื่องพระยาเพชรปาณี บ้านผลิตเครื่องดนตรีไทย ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมที่ยังคงสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปั้นเศียรพ่อแก่ การทำกรงนกเขาชวา ซึ่งสร้างรายได้และสานสัมพันธ์ของคนในชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน และนอกจากเรื่องราวข้าวของทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว ภายหลังกำแพงสูงหลังป้อมปราการแห่งนี้ก็ยังรายรอบไปด้วย "ต้นไม้ใหญ่อายุนับร้อยปี" มี "บ้านไม้โบราณที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓" และที่สำคัญคือมี "ชุมชนและวิถีชีวิตของผู้คน" ที่ผูกพันอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ทำให้นักท่องเที่ยวมากมาย ลัดเลาะลอดประตูกำแพงเมืองเข้ามาชื่นชมวิถีชีวิตเหล่านี้อยู่เสมอ

ปัจจุบันมีเพียงชุมชนป้อมมหากาฬเป็นชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่และกำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาพร้อมกับการพัฒนาเมือง

ด้วยทำเลที่ตั้งและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ชุมชนของพื้นที่ในชุมชนป้อมมหากาฬ ที่นี่จึงมีศักยภาพมากพอหากในอนาคตมันจะกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด อย่างการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตซึ่ง คนในชุมชน โบราณสถานและสวนสาธารณะสามารถอยู่ร่วมกันได้

จากอดีตถึงปัจจุบัน

  1. 2502

    นโยบายปรับปรุงบ้านเมืองให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยในสมัยของรัฐบาลจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ส่งผลให้คำสั่ง ซ่อมแซมป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ และกั้น รั้วทางเข้าไม่ให้ผู้คนขึ้นไป มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาจัดซื้อที่ดิน 21 แปลงจากเจ้าของที่ดินและทรัพย์สินด้านหลังป้อมมหากาฬ

    1959

    Sarit Tanarat’s government policy about development regulated the maintenance of Phra Sumen Fort and Mahakan Fort. The project committee bought 21 parcels in this area from the owners to build the park afterward.

  2. 2513

    เกิดอัคคีภัยในบริเวณชุมชนป้อมมหากาฬราว 50 หลังคาเรือน ด้านทิศใต้ติดคลองหลอดวัดราชนัดดา ทำให้ชาวบ้านเดิมย้ายออกไปจำนวนหนึ่ง และมีชาวบ้านกลุ่มใหม่ย้ายเข้ามาจากที่ต่าง ๆ

    1970

    A terrible conflagration in Pom Mahakan community destroyed about 50 houses so some families had to move out. New families moved in from several places.

  3. 2521

    รัฐบาลกำหนดให้กรุงรัตโกสินทร์เป็นที่พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ จึงถูกกำหนดให้เปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะ

    1978

    Pom Mahakan community area was designated to be replaced with a public park under the master plan for conservation and development of Krung Rattanakosin

  4. 2535

    กทม.ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ. 2535 มีการจ่ายค่าชดเชยและมอบเงินเยียวยาให้แก่ชาวบ้านไปแล้วบางส่วน โดยส่วนที่เหลือจะจ่ายก็ต่อเมื่อได้มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วเสร็จ

    1992

    The expropriation act 1992 was brought in by The Bangkok Metropolitan Administration (BMA). Some compensation was given to the community members, while the rest will be paid when the eviction is all done.

  5. 2541

    พื้นที่ใหม่ที่รัฐจัดให้ยังมีปัญหาด้านสาธารณูปโภค ชาวบ้านจึงขอให้ชะลอการไล่รื้อ พร้อมกับเสนอทางออกร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และยื่นข้อเสนอ 5 ข้อในการเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกับสวนสาธารณะได้

    1998

    The new residences that National Housing Authority provided still haven’t got any public utilities. So community members asked for postponing the eviction and offered the new proposal to live with the park.

  6. 2546

    มีประกาศให้คนในชุมชนป้อมมหากาฬออกจากพื้นที่อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ชาวบ้านไม่ยินยอม หลายฝ่ายสนับสนุนแนวทาง Land Sharing ให้ชุมชนอยู่ร่วมกับสวนได้ รวมถึงสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทบทวนและยุติแผนการไล่รื้อ

    2003

    The BMA urged the residents of Pom Mahakan Community to move out again but this time the community’s members resisted against it. There was land sharing idea shows that community can live with the park, even UN demanded to rethink and stop the eviction.

  7. 2548

    วันที่ 7 ธันวาคม มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) “โครงการวิจัยชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ” จาก 3 ฝ่าย ได้แก่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และนายธวัชชัย วรมหาคุณ ตัวแทนป้อมมหากาฬ

    2005

    December 7, there was MOU signing “The Research Masterplan for conservation and development of ancient houses community: Pom Mahakan” by Abhirak Kosayothin, former governor of Bangkok, Assoc. Prof. Dr.Wiwatchai Attakorn, the chancellor of Silpakorn University and Thawatchai Woramahakun, The leader of Pom Mahakan community.

  8. 2549

    แม้กทม.จะรับฟังแนวคิดรูปแบบพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่าไม่อาจเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์เดิมได้ จึงต้องเดินหน้าทำตามแผนการสร้างสวนสาธารณะเต็มรูปแบบต่อไป

    2006

    Even BMA listened to an idea of Outdoor Living Museum, but the Council of State’s committees informed that the objective cannot be changed. The park has to be continued.

  9. 2558

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบันเห็นชอบให้ดำเนินการรื้อย้ายชุมชนป้อมมหากาฬส่วนที่เหลือ หลายฝ่ายพยายามเจรจาหลายครั้งแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย

    2015

    Sukhumbhand Paribatra, the present governor of Bangkok approved to continue the eviction. Many organizations try to compromise the deal but still cannot found the best way for everyone’s best benefit.

  10. 2559

    วันที่ 10 กรกฎาคม ชาวชุมชนป้อมมหากาฬร่วมกันเปิดพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสประวัติศาสตร์ เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างใกล้ชิด

    2016

    The community's members opened Living Heritage Museum in Pom Mahakan community on July 10th, welcoming tourists to study history and learn about local wisdom exclusively.

จุดเริ่มต้นของแนวความคิด

พวกเราได้เริ่มต้นจากการศึกษาและค้นคว้าจากงานวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ” ของ อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ และบริษัท ออนกราวด์ จำกัด ที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยชิ้นนี้ ทำให้เราได้แนวความคิดริเริ่มที่เป็นการนำเสนอทางออกใหม่ที่แตกต่างออกไป เราเห็นตรงกันว่าเราอยากให้สวนสาธารณะแห่งนี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่สำหรับกรุงเทพมหานคร โดยที่ยังอนุรักษ์โบราณสถานต่างๆพร้อมกับยังดำรงไว้ซึ่งชุมชนที่มีชีวิตได้อยู่อาศัยไปพร้อมๆกัน

เราได้คงแนวความคิดหลักจากงานวิจัยเนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้ผ่านการทำประชาพิจารณ์มากว่า 30 ครั้งจากชาวบ้านชุมชนป้อมมหากาฬ และได้เพิ่มเติมแนวความคิดบางอย่างเพื่อทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเส้นทางที่คาดหวังให้เป็นเส้นทางสัญจรหลักเส้นใหม่ในชุมชน หรือนำการแข่งฟังเสียงร้องนกเขากลับมาอีกครั้ง เป็นการทำให้พื้นที่แห่งนี้มีคุณค่าที่สัมผัสได้จากบุคคลภายนอก สามารถสร้างเป็นตัวอย่างของแหล่งท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ให้กับเกาะรัตนโกสินทร์อันประกอบไปด้วยชุมชนน้อยร้อยแห่งที่ยังคงมีชีวิตอยู่ให้เป็น “การท่องเที่ยวชุมชน” อย่างแท้จริง


ผลลัพธ์

จากการออกแบบที่นำเสนอออกมานั้น จะเห็นได้ว่าเราพยายามคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมโบราณและวิถีชีวิตของชุมชน ทำให้วัสดุที่เลือกใช้จะเป็นวัสดุจากยุคสมัยดั้งเดิม เช่น ทางเดินอิฐมอญ หรือ เสาไฟไม้เนื้อแข็ง เป็นต้น โดยเป็นการพัฒนาพื้นที่เพิ่มเติมจากเดิมโดยไม่ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณมากเกินความจำเป็น แต่นำมาซึ่งการใช้งานที่ได้จากพฤติกรรมของผู้คนอย่างแท้จริง เราได้เลือกพื้นที่มา 3 ส่วนในการนำเสนอภาพเสมือนจริง โดยทั้ง 3 ส่วนนี้มีความแตกต่างและน่าสนใจดังนี้

พื้นที่สวนข้างป้อมมหากาฬ เป็นพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ เหมาะแก่การทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เราต้องการนำเสนอภาพในมุมกว้าง ทั้งการนำการแข่งฟังเสียงร้องนกเขากลับมาอันทำให้สภากาแฟนกเขากลับมาเช่นกัน หรือการเพิ่มเติมพื้นที่เวทีจัดการแสดงต่างๆขึ้นมาถัดจากอาคารท่าเรือเก่า และเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวเดิมที่รกร้างให้กลับมาเป็นพื้นที่สวนสำหรับทุกคนอีกครั้ง

พื้นที่ริมคลองโอ่งอ่าง เป็นการชุบวิถีชีวิตริมน้ำให้เป็นสเน่ห์อีกแห่งของกรุงเก่าแห่งนี้ โดยที่ชุมชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการชุบชีวิตนี้ เริ่มด้วยการค้าขายทางน้ำที่ผู้คนในชุมชนพร้อมจะร่วมกันทำ จะเป็นจุดเริ่มต้นให้กับพื้นที่แห่งนี้ในอีกหลากหลายมิติในอนาคตอย่างแน่นอน

พื้นที่ปลูกผักสวนครัว เป็นการพัฒนาพื้นที่หลืบมุมในชุมชนที่ไม่มีประโยชน์ในปัจจุบันให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ พื้นที่ที่สร้างกิจกรรมร่วมกันของชุมชน และยังเป็นการชุบชีวิตวิถีชีวิตเดิมของชาวบ้านกลับมาอีกครั้ง การปลูกผักสวนครัวนั้นจะทำให้เด็กๆในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พร้อมไปกับการพัฒนาวิถีชีวิตจากพื้นที่เดิมในชุมชนอีกด้วย

แผนผังชุมชนป้อมมหากาฬ

FAQ ประเด็นชุมชนป้อมมหากาฬ

“ที่นี่คือพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนมาตั้งแต่สมัย ร.๓”

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานที่ดินหลังกำแพงป้อมมหากาฬ ให้แก่วัดและให้ข้าราชบริพารสร้างบ้านเรือนอยู่ ผู้อาศัยปัจจุบันจึงไม่ใช่ผู้บุกรุก แต่เป็นลูกหลานผู้รับใช้สืบทอดมาแต่เดิม หลายคนเข้ามาเช่าบ้าน ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปี กรณีของชุมชนป้อมมหากาฬจึงต่างกับสะพานเหล็ก คลองถม ประตูน้ำ และปากคลองตลาด แต่ด้วยแผน แม่บทการอนุรักษ์ และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำให้พื้นที่นี้ถูกเวนคืนเพื่อทำสวนสาธารณะ

“This is the residential area since the reign of King Rama III”

King Rama III has given the land to the temple and the officer to live here. The community’s members are not the invaders but they are the heirs of servants. Some of them rent the houses for 30 years. This case is different from Sapan Lek, Klong Tom, Pratunam and Pak Klongtalad. Because of The master plan for conservation and development of Krung Rattanakosin, Pom Mahakan area had to replace with the park.

“ทำตามกฎหมาย”

ด้วยบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๕ บังคับให้ชาวบ้านต้องย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากในยุคนั้นยังไม่มีการกล่าวถึงสิทธิของชุมชน (ซึ่งต่อมาปรากฏในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ เป็นครั้งแรก) ทำให้ชาวบ้านต้องรับเงิน บางส่วนย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่มีอีกหลายส่วนที่ไม่สามารถย้ายไปที่ใหม่ได้

“Force by the law”

The expropriation act in 1992 forced the community’s members to receive the compensation and planned to move out because in that time there is no ‘The Community Rights’ (which is first appeared in constitution in 1997). Some of them already moved to other places but some still cannot moved to new place.


“พื้นที่ใหม่ไม่พร้อมให้เข้าไป”

ชาวบ้านพร้อมจะออกจากพื้นที่ แต่โครงการฉลองกรุง ๒ ที่มีนบุรี ซึ่งดำเนินการโดยการเคหะแห่งชาติยังไม่มีระบบสาธารณูปโภค อีกทั้งยังไม่ได้คำนึงถึงบริบทการอยู่อาศัยอื่นๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล การเดินทางที่ยากลำบาก อาชีพและย่านการค้าที่ไม่สอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ฯลฯ จึงไม่สามารถย้ายไปได้ ประกอบกับในปีนั้นมีการหยิบยกประเด็นสิทธิชุมชนขึ้นมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง จึงเป็นที่มาของข้อโต้แย้งเพื่อหาข้อสรุปในปัจจุบัน

“New residence is not ready to move in”

The community’s members willing to move out but Chalongkrung 2 in Meenburi, which is managed by National Housing Authority, lack of public utilities. Moreover, school, hospital and transportation are hard to find in this area. The new location is not appropriate for the career or ability of community’s members. In the meantime, ‘The Community Rights’ becomes the topic in many field, which is the argument for the conclusion on this day.


“จำนวนเงินที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการไปตั้งถิ่นฐานใหม่”

รายละเอียดของการรับเงินนั้นประกอบไปด้วยกัน ๔ ส่วนคือ

  1. จำนวนเงินค่าที่ดินที่ กทม. รับซื้อ ๒๒๑,๗๙๐,๐๐๐ บาท (๙๗.๐๙%)
  2. จำนวนเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง ๕,๒๙๓,๔๐๙ บาท (๒.๓๒%)
  3. จำนวนเงินค่าชดเชยเสียสิทธิการเช่า ๑,๒๔๒,๐๐๐ บาท (๐.๕๔%)
  4. จำนวนเงินค่าชดเชยค่าขนย้าย ๑๐๗,๑๐๐ บาท (๐.๐๕%)

เงินที่ชาวบ้านได้รับจริง ส่วนใหญ่เป็นเงินชดเชยเสียสิทธิการเช่า และเงินชดเชยค่าขนย้าย ซึ่งคิดเป็นเพียง ๐.๕๙% ของเงินทั้งหมดที่ กทม. ใช้ในการเวนคืน นอกจากนั้น ชาวบ้านที่รับเงินไปตั้งถิ่นฐานใหม่ยังต้องเสียค่าก่อสร้างเพิ่มเติมอีก ๓๕๐,๐๐๐ บาทต่อหลังซึ่งเป็นข้อกำหนดที่การเคหะแห่งชาติเพิ่มขึ้นทีหลัง

“The compensations are not enough”

  1. Amount of Land Price THB 221,790,000 (79.09%)
  2. Amount of compensation for building THB 5,293,409 (2.32%)
  3. Amount of deprived of the right for rent THB 1,242,000 (0.54%)
  4. Amount of compensation to relocate THB 107,100 (0.05%)

The community’s members received only 0.59% of all amount that the BMA had paid for compensation. Besides, who accepted the deal had to pay additional 350,000 THB for the construction service, which is the add up condition by the National Housing Authority.

“ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของที่นี่คือ การอยู่อาศัย”

ชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม ไม่ใช่แหล่งภูมิปัญญาที่เป็นอาชีพชัดเจนเหมือนบ้านบาตร หรือบ้านสายรัดประคด หากแต่เป็นการอยู่อาศัยที่ใกล้ชิดกันฉันพี่น้อง ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ดังนั้นอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของที่นี่จึงเป็น ‘การอยู่อาศัย’ แบบดั้งเดิมที่ยังมีอยู่จริง

“History and culture of this community is livinghood”

Pom Mahakan wooden house community is the old community, unique with the old style architectures not the wisdom career as Ban Bat (monk bowl making community) or Ban Sairatprakot (monk belt making community) but their livinghood as family is the rare relationship on this day. So the identity of Pom Mahakan is the way of living together as the good old days.


“ภูมิปัญญาที่เปลี่ยนแปลงไปตามการอยู่อาศัยตามยุคสมัย”

ภูมิปัญญาของชาวชุมชนป้อมมหากาฬ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนมาตามยุคสมัย เช่น การปั้นเศียรพ่อแก่ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของศิลปินแขนงต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในชุมชน กรงนกเขาชวาและกรงนกปรอดหัวจุกก็มาจากการละเล่นนก ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่เคยได้รับความนิยมมากยุคหนึ่ง ฉะนั้นการเลือกอนุรักษ์เฉพาะอาชีพดั้งเดิม จึงไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีในการย้ายชุมชนออกจากเมืองเก่า

“The wisdom has changed when the time passed”

The wisdom of community’s members is related to their life in different times such as Searn Por Gae, mask of an ancient hermit which is respected by many kind of artists in this community and the bird cages that was boom in the past. To evict the community out of this area because they are not having traditional career is not the good enough reason.

“มีตัวอย่างมากมายในต่างประเทศที่ชุมชนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้”

การกล่าวว่าโบราณสถานและชุมชนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้นั้นเป็นแนวคิดที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาชุมชนในปัจจุบัน ที่เน้นให้ผู้คนอยู่ตัวอย่างการอยู่ร่วมกันในรูปแบบนี้จำนวนมากในต่างประเทศ เช่น

“There are a ton of community that can live with the historical site ”

Claiming that community and historical site cannot live together was the out of date-idea because today all over the world agreed to the way of co-development with the community. The old town can be more alive with people like these example;


หูท่ง ปักกิ่ง ประเทศจีน

เดิมทีย่านหูท่งเป็นที่อยู่อาศัยของขุนนาง ตั้งอยู่รายรอบพระราชวังต้องห้าม ในช่วงที่จีนเตรียมการสำหรับโอลิมปิกปี ๒๕๕๑ พื้นที่เหล่านี้ถูกรื้อทิ้งแล้วสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แทน แต่มีการอนุรักษ์พื้นที่บางส่วนไว้ โดยเปลี่ยนย่านนี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแสดงวิถีชีวิตของคนปักกิ่งสมัยโบราณ

Hutong, Beijing, China

At first, Hutong was the residence of the nobleman around the Forbidden Palace. In 2008 China preparing the facility for Olympic, Hutong area was demolished to build the commercial buildings but keep some part for conservation to be the tourism area, shows the cultural of Beijing people in the past.


ย่านฮิกาชิยาม่า เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นวางแผนพัฒนาเมืองเก่าเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของเกียวโต ผ่านความร่วมมือของฝ่ายดูแลเรื่องกฎหมายอนุรักษ์ กลุ่มช่างไม้ปรับปรุงบ้านเก่า มีการจัดผังเมืองให้เป็นมิตรต่อสถาปัตยกรรมโบราณ และรองรับการขยายตัวของเมืองใหม่ไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนอาคารอนุรักษ์บางแห่งเป็นบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ขายสินค้า แสดงงานศิลปะดั้งเดิมเพื่อความเข้าถึงบรรยากาศเก่าๆ

Hakashiyama, Kyoto, Japan

After World War 2, the government has planned the old city for revise the economic of Kyoto by the cooperation of the lawsuit organizations, traditional carpenters. There was the city plan for the old architectures and new building by renovated some houses to be the accommodations, shops, galleries to show traditional art for creating the nostalgic.


หมู่บ้านบุกชอนฮันอก กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

ย่านนี้เป็นบ้านเก่าแก่ของบรรดาขุนนางซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่า อาคารในย่านนี้หายไปเป็นจำนวนมากจากการขยายตัวของเมืองในช่วงปี ๑๙๙๐ คนในพื้นที่ นักวิชาการและรัฐบาลจึงร่วมกันปรับปรุงระบบภายในของบ้านเก่าสามารถอยู่อาศัยได้ในบริบทปัจจุบัน รวมถึงมีโซนเฉพาะสำหรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวเกาหลีด้วย

Bukchon Hanok Village, Seoul, South Korea

This area is located in the heart of the old city, used to be the houses of the nobleman. In 1990, the houses was disappeared cause by the expand of the town. The community’s members, the academics and the government were cooperated. They renovated system inside the old houses, so people can living in the present context and provide the special zone for tourist to learning about Korean culture.


โอลด์ ราอูมา ซาตากุนตา ประเทศฟินแลนด์

หมู่บ้านไม้โบราณสไตล์นอร์ดิก ถูกปรับปรุงแต่งเติมไปตามยุคสมัย ทำให้การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบเก่าไว้ทั้งหมดเป็นไปได้ยาก จึงมีการควบคุมสิ่งปลูกสร้างในเมืองให้อยู่อาศัยได้และอนุรักษ์ไปพร้อมกันด้วย ความโดดเด่นของเมืองนี้คือการทำให้ย่านโบราณคึกคักอยู่ตลอด ด้วยกิจกรรมเวิร์กช็อปงานศิลปะ งานแสดงดนตรี หมุนเวียนกันตลอดทั้งปี

Old Rauma, Satakunta, Finland

The old wooden Nordic house community has redecorated when the time pass. It was makes the difficult conservation so they are control the building in this area for living and conservation at the same time. The outstanding of this community is the pulses in the old town which has a ton of activities all year long.

“สืบค้นและอาศัยไปพร้อมกันได้”

ในทางโบราณคดี การขุดค้นประวัติศาสตร์นั้นดำเนินการโดยที่ยังมีผู้อยู่อาศัยร่วมได้โดยที่ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านไม่ต้องย้ายออกไปอยู่ที่อื่น เรียกว่า Test Pits ตัวอย่างเช่น ‘ชุมชนเลื่อนฤทธิ์’ ซึ่งคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เข้าไปขุดค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตรวจสอบวัสดุ โครงสร้างของอาคารและพื้นถนน เพื่อนำมาออกแบบวิธีปรับปรุงอาคารเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกตัวอย่างคือ ในสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินการ ‘โบราณคดีชุมชน’ (Community-Based Archaeology) ให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาประวัติศาสตร์ของชุมชนตัวเอง โดยขอความร่วมมือประชาชนใช้พื้นที่ในบ้านขนาด 1x1 เมตร และเก็บวัตถุที่ค้นพบทุกอย่างไว้ ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ เพื่อเล่าเรื่องความเป็นมาของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านเจ้าของบ้านผู้เคยมีประสบการณ์ร่วมหรือเคยได้ฟังมาจากบรรพบุรุษของพวกเขา

“Study together is the better way”

The excavation can proceed while the owner stay in the house. Test pits is the first step of the study, for example; Luenrit community’s excavation is studied by the faculty of Archaeology, Silpakorn University. They are finding historical evidences, examine the materials, construction of the buildings and the roadway for collect the fact to renovate the old buildings. Another example is Community-Based Archaeology in USA. They brought the community to be a part of historic study by digged 1x1 metre hole inside one of houses in community. They collected all of things they found, new or old, to tell the stories of community’s history by the house owner from their own experiences and their grandparent’s stories.

“เลิกและล้างสต๊อก”

ปัจจุบันร้านขายพลุไฟ ยินยอมที่จะเลิกกิจการ สิ่งที่ขายในวันนี้คือสต๊อกของเก่าที่เหลืออยู่เดิม และสัญญาว่าจะปิดกิจการแน่นอนหากรัฐเข้ามาร่วมปรับเปลี่ยนพื้นที่

“Closing down and clearing stock”h3>

The excavation can proceed while the owner stay in the house. Test pits is the first step of the study, for example; Luenrit community’s excavation is studied by the faculty of Archaeology, Silpakorn University. They are finding historical evidences, examine the materials, construction of the buildings and the roadway for collect the fact to renovate the old buildings. Another example is Community-Based Archaeology in USA. They brought the community to be a part of historic study by digged 1x1 metre hole inside one of houses in community. They collected all of things they found, new or old, to tell the stories of community’s history by the house owner from their own experiences and their grandparent’s stories.

หน่วยงานดูแลพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต :
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ

ชาวชุมชนป้อมมหากาฬร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานดูแลพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตขึ้นมารองรับข้อเสนอที่ยื่นต่อกทม. โดยชาวชุมชนเลือกที่จะแบ่งงานกันเองตามความถนัดและความเหมาะสมของแต่ละคน แบ่งเป็น 4 หน่วยงานใหญ่ๆ ดังนี้

กองสวน (32 คน) บริหารจัดการ (18 คน) วิชาการ (34 คน) รักษาความปลอดภัย (29 คน)
บุญทำ วิลัย
ฉวีวรรณ วังคะฮาด
ฉวี ลีลาวินิจ
อุทร ปัญญาสิทธิ์
สุริยา ทัพเมฆา
เสาวรส วรมหาคุณ
ศิริพร ศรีจุนจันทร์
ไพบูลย์ ตุลารักษ์
รัชนี นิลใบ
สยาม พวงไชโย
สมบูรณ์ พวงไชโย
หนูไกร ลาโสเล
โซนที่ 1 (37คน)
หอม คำแก่นแก้ว
ฉวีวรรณ วังคะฮาด
เยาว์ อ้นสืบสาย
สง่า มาตรขาว
สะอาด วงศาสตร์
อันชิฐา วังคะฮาด
ภัตทยา พลับสอาด
สุริยา ทัพเมฆา
จันทรา ทัพเมฆา
รัชนี นิลใบ
ทัศนียา เกตุไสว
มนูญ นิลใบ
ชฎานิศ ทิมดี
มงคลทิพย์ บุญค้อม
ภาสุรี นิลใบ
พีระภา นิลใบ
ศรานี นิลใบ
ไพบูลย์ ตุลารักษ์
ทองพูล ตุลารักษ์
ศรายุทธ นิลใบ
นนทวัฒ วงศาสตร์
ชัยวัฒน์ ตุลารักษ์
ประขันธ์แก้ว เกตุสกุล
วิโรจน์ พลับสอาด
เอกรินทร์ นิลใบ
แดง วงศาสตร์
อภิสิทธิ์ สาตสิน
อภิชาติ วังคะฮาด
โซนที่ 2 (45 คน)
พันธ์ สรวงทอง
วรัชญา โชควินิตย์
ศิรินทร์ทิพย์ วรรณพาหุล
ศักรินทร์ วรรณพาหุล
ชุลีพร มะมิตสลิม
จิตรา ขจิตสุวรรณ
กุลธิดา รุจิภักดิ์
ประนอม พวงไชโย
มาลัย ศรีบุปผา
พีระพล เหมรัตน์
บุญธิดา กระจายศรี
ลัดดา สงค์ประสิทธิ์
บุญธิดา กระจายศรี
ปวันรัตน์ รุจิภักดิ์
ธิดารัตน์ รุจิภักดิ์
วิมลนัณ สมอินทร์
วลี สมบูรณ์ผล
ประกายแก้ว บุญช่วย
บงกต พวงไชโย
พิชยา พวงไชโย
กรกต พวงไชโย
วงกต พวงไชโย
ชัย สรวงทอง
วินัย สรวงทอง
มล รุจิภักดิ์
รัตชพล เหมรัตน์
อุปถัมป์ วรรณพาหุล
ประสพพร วรรณพาหุล
กิจชัย นาดแก้ว
ฐาปนะ ขจิตสุวรรณ
เศรษฐี ขจิตสุวรรณ
สมบูรณ์ พวงไชโย
สยาม พวงไชโย
คำรณ ศรีบุปผา
นิวัติ ศรีบุปผา (เอ้)
โซนที่ 3 (19 คน)
สวาท ลุนสิน
หนูพิศ ปัญญาสิทธิ์
สมใจ กาญจนะ
สมหมาย มาตย์สาลี
สายชล เงาศรี
สุยาณี อ้นมุกกะ
อุทร ปัญญาสิทธิ์
สมิธ มานิต
พรชัย วุฒิศักดิ์วรชาติ
พรเทพ บูรณบุรีเดช
ธวัชชัย วรมหาคุณ
ฉัตรชัย ลีลาวินิจ
ไกรวิทย์ ปัญญาสิทธิ์
ธนากรณ์ ชุ่มฉ่ำ
พิทยา กาญจนะ
พรรณี มาตย์สาลี
ฉวี ลีลาวินิจ
ภูวดินทร์ อินทมี
ณัฎกพันธุ์ รัชตธีระวัฒน์
โซนที่ 4 (26 คน)
บุญทำ วิลัย
จิระพันธ์ ถมยา
สมพร อาปะนนท์
บุญเกื้อ ประจวบสุข
จุมพร ประโสทานัง
โยธิน เสริมสุขประเสริฐ
หนูไกร ลาโสเล
ประจวบ ดวงราศรี
ภัทรธร ประโสทานัง
เซาะฮุย แซ่ตั้ง
ธวัชชัย วรมหาคุณ
ลือศักดิ์ ปรีแย้ม
โกมลลักษณ์ สุภวัฒนชัย
เสาวรส วรมหาคุณ
ประภัสสร ถมยา
ผกามาศ ลาโสเล
ปรารถนา ลาโสเล
ชวินธร ธูปทอง
พงศพัศ อาปะนนท์
ระพี รูปสว่าง
สายไหม พืชสุข
สุภาณัช ประจวบสุข
พงศภัค อาปะนนท์
ทวีศักดิ์ อาปะนนท์
ธีรชัย ประจวบสุข

สัญญาจากชาวบ้าน

"ผมขอเป็นส่วนหนึ่งในการสอนปั้นเครื่องปั้นดินเผารูปเศียรพ่อแก่และฤๅษีดัดตน และหากชุมชนได้อยู่ร่วม กับสวน สาธารณะของกทม. เราก็จะ ช่วยดูแล ทำให้ชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต”

พี่เล็ก - พีระพล เหมรัตน์
อายุ 56 ปี
อาชีพ ช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผา

“ผมจบมศ.3 จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย พูดภาษาอังกฤษได้ พร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หากที่นี่เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะ ผมก็จะสาธิตวิธีทำกรงนกให้คนเข้ามาศึกษา แสดงให้นักท่องเที่ยวได้เห็นว่าเรามีอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์”

ลุงติ่ง - ไพบูลย์ ตุลารักษ์์
อายุ 69 ปี
อาชีพ ช่างทำกรงนก

"ป้าจะรักษาอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวก็คือการทำกรงนก ขายอาหารนกอย่างที่เราทำมาตลอด ให้คนเข้ามาดูวิถีชีวิตแบบไทยๆ ของเราได้ ที่นี่เป็นบ้านของป้าอยู่แล้ว ก็จะคอยช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยเป็นหูเป็นตาให้”

ยายทองพูล - ทองพูล ตุลารักษ์
อายุ 74 ปี
อาชีพ ช่างทำกรงนก ค้าขายอาหาร

“เราจะเปิดร้านขายของ ขายเครป ตกแต่งร้านสวยๆ ช่วยดูแลความสะอาด จัดเก็บพื้นที่ในชุมชนให้เป็นระเบียบ และช่วยทำสวน เก็บกวาด ตัดแต่งต้นไม้ หากที่นี่เปลี่ยนไปเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะ”

ป้าติ๊ก- หนูพิศ ปัญญาสิทธิ์
อาชีพ ค้าขายอาหาร

“เราจะช่วยดูแลทั้งส่วนของสวนสาธารณะและบ้านที่เราอยู่ ตั้งใจไว้ว่าอยากจะขยายบ้าน เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพของที่บ้านให้มากกว่าเดิม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่คู่กับป้อมมหากาฬ เพื่อหารายได้และความมั่นคงให้แก่คนในครอบครัวไปพร้อมกันด้วย”

เจน - พีรภาร์ นิลใบ
อายุ 24 ปี
อาชีพ ขายกรงนกเขาชวา

“อาชีพดั้งเดิมของคนในป้อมคือการค้าขาย เราก็จะขายกระเพาะปลาให้คนที่มาเที่ยว สืบทอดสูตรของครอบครัวให้ลูกหลานต่อไป ส่วนบ้านของเราก็จะซ่อมแซมให้มันเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ให้สวยงามเหมือนเดิม”

จุ๋ม - จุมพร ประโสทานัง
อายุ 48 ปี
อาชีพ ขายกระเพาะปลา

“ถ้าป้อมมหากาฬกลายเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่ทุกคนเข้ามาใช้พื้นที่ได้ เราก็จะอาสาเป็นยามดูแลความเรียบร้อยตอนกลางคืน และรักษาความสะอาดของบริเวณโดยรอบ ทำตัวเป็นมิตรกับผู้อื่น จะไม่ก่อปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น”

ภู - ภูบดินทร์ อินทมี
อายุ 15 ปี
อาชีพ นักศึกษา

“ในเมื่อพลุเป็นสินค้าผิดกฎหมาย เราก็พร้อมที่จะเปลี่ยนไปค้าขายอย่างอื่น หากินอาชีพอื่นก็ได้ ถ้าเขายังให้เราอยู่ที่บ้านของเราก็จะคอยผลัดเปลี่ยนเป็นเวรดูแลความปลอดภัย รักษาความสะอาดพิพิธภัณฑ์สาธารณะร่วมกับเพื่อนๆ ในชุมชน”

ป้าเยาว์ อ้นสืบสาย
อายุ 63 ปี
อาชีพ ค้าขายพลุ

ร่วมสนับสนุนให้ คน อยู่กับ เมือง

เกี่ยวกับ Mahakan Model

- Mahakan Model คือ โมเดลการพัฒนาพื้นที่บริเวณชุมชนป้อมมหากาฬด้วยการนำเสนอทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับทุกฝ่าย เพื่อเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลงเมืองที่เป็นมิตรกับทั้งภูมิทัศน์และผู้คน
- Mahakan Modelเป็นตัวกลางสร้างสมดุลระหว่างแนวคิดของชุมชน รัฐบาล ภาคเอกชน และนักวิชาการ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้คน ชุมชน เมือง อยู่ร่วมกับการพัฒนาได้จริง
- Mahakan Model อาสาเป็นผู้ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาป้อมมหากาฬตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นำมาประมวลผล ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเพื่อนำเสนอให้ทุกฝ่ายรับทราบตรงกัน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนยอมรับได้